Me Myself

8 ก.พ. 2554

ผลงานช่วยกู้ภัย ชนะเลิศโครงงานคอมพ์ระดับประเทศ

เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS เป็นโครงงานชนะเลิศ IPST ROBOT CONTEST 2010 ไอเดียเยาวชนระดับมัธยม เพิ่มความฉับไวให้หน่วยกู้ภัย


          นายพลกฤษณ์  สุขเฉลิม หรือ เต้ย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ  ราชบุรี จังหวัดราชบุรี  เจ้าของผลงาน “ โครงงานเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS”   ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทประยุกต์ใช้งาน จาก โครงการ IPST ROBOT CONTEST 2010    ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (สสวท.)  เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี  2554
 พลกฤษณ์ศึกษาเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารอยู่แล้ว จึงพัฒนาโครงงานนี้ขึ้นจากความสนใจที่มีอยู่เดิม  ประกอบกับเหตุการณ์ หรือ อุบัติเหตุต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น เครื่องบินตกที่จังหวัดน่าน พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ไม่สามารถหาผู้ประสบภัยเจอ  กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าช่วยเหลือ
          ด้วยเหตุผลดังกล่าว พลกฤษณ์จึงได้พัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือและกู้ภัย โดยอุปกรณ์จะส่งสัญญานขอความช่วงเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยในทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งพิกัดที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยได้อย่างมาก  ซึ่งโครงงานนี้มีอาจารย์กำธร  ใช้พระคุณ เป็นคุณครูที่ปรึกษา
          พลกฤษณ์ได้นำเอาเทคโนโลยีการระบุพิกัดด้วยดาวเทียม หรือ GPS มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ  และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมาช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว  โดย การใช้การระบุพิกัดผ่านดาวเทียม และนำเอาพิกัดดังกล่าวส่งไปกับคลื่นวิทยุผ่านทางดาวเทียมไปยังสถานีฐาน    หากเกิดเหตุขึ้น อุปกรณ์สามารถส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปพร้อมกับพิกัด GPS ไปยังสถานีฐานที่เป็นหน่วยกู้ภัย ให้รับทราบถึงเหตุดังกล่าว และตำแหน่งที่ต้องเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
          ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญานขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS ได้พัฒนาอุปกรณ์ใน 4 ส่วน   ใหญ่ ๆ คือ GPS  Module  Modem  ระบบควบคุมการส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ และเครื่องส่งวิทยุ อุปกรณ์แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
           ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบการใช้งาน โดยจำลองการค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร  พบว่า สามารถที่จะทราบเหตุที่เกิดขึ้นโดยทันที และสามารถที่จะเข้าช่วยเหลือได้ในเวลาไม่นานนักหลังจากได้รับสัญญานขอความช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากทราบพิกัดของผู้ขอความช่วยเหลืออย่างละเอียด
          อีกทั้ง จากการทดสอบอุปกรณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการส่งสัญญาน  พบว่า  สามารถส่งสัญญานได้ในระยะสูงสุดถึง 2,000 กิโลเมตรห่างจากสถานีฐาน โดยใช้ดาวเทียม HOPE-1 คือ สามารถรับพิกัดจากประเทสไทย (จังหวัดราชบุรี) จากหมู่เกาะตอนล่างของประเทศญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง
          พลกฤษณ์เริ่มหัดเขียนโปรแกรมตั้งแต่ ม.ต้น หาความรู้จาก อาจารย์ จากความรู้ต่างๆที่มีอยู่ ผมคิดว่าความรู้มีอยู่ทุกที่อยู่แล้ว จากนั้นก็หาประสบการณ์จากการแข่งขันด้านคอมพิวเตอร์มาเรื่อยๆ  “ ผมว่าคอมพิวเตอร์เป็นอะไรที่น่าสนใจ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิตได้ ”
         พลกฤษณ์ยังบอกอีกว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อย่างเขา สนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เด็กบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่ถูก เอาเวลาส่วนใหญ่ไปใช้กับการเล่นเกม แต่ขณะเดียวกันเด็กหลายคนก็พัฒนาได้จากการเล่นเกมเช่นกัน ดังนั้น เขาเห็นว่าจะต้องมาปรับนิสัย ปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ในทางสร้างสรรค์มากขึ้น
          จากความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้  พลกฤษณ์ได้โควตาเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ในปีการศึกษาหน้านี้  และ เขายังตั้งความหวังไว้ว่าอยากเป็นอาจารย์ด้านวิศวกรรมต่อไปในอนาคต 

มข.ผลิตอุปกรณ์ฝึกหายใจอเนกประสงค์

BreatheMAX อุปกรณ์ฝึกหายใจอเนกประสงค์ นวัตกรรมใหม่สำหรับการบำบัดระบบหายใจที่ให้แรงต้านแบบเรียบง่ายสำหรับผู้ป่วยได้ใช้เอง


              นักวิจัย มข.ผลิต BreatheMAX อุปกรณ์ฝึกหายใจอเนกประสงค์ นวัตกรรมใหม่สำหรับการบำบัดระบบหายใจที่ให้แรงต้านแบบเรียบง่ายสำหรับผู้ป่วยได้ใช้เอง  ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยเสริมการรักษาทางกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยทุกวัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ  บำบัดปัญหาระบบหายใจและสามารถลดความดันโลหิตสูง โดยราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศ
              ผศ. ดร. ชุลี  โจนส์  อาจารย์ประจำสายวิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  ปัจจุบันงานกายภาพบำบัดเฉพาะทางด้านระบบหายใจเป็นงานด้านการบำบัดรักษาความบกพร่อง และเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด เช่น การระบายอากาศ  การแลกเปลี่ยนก๊าซ ในผู้ป่วยตั้งแต่ระยะวิกฤติ จนถึง ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยวิธีการทางกายภาพที่ใช้หลักการหรือกลไกการทำงานตามธรรมชาติของปอดมาบำบัดสาเหตุของความบกพร่องนั้นๆ
              แต่ปัญหาที่พบในผู้ป่วยระบบหายใจส่วนใหญ่จะมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลมทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจ ปอดแฟบ ปริมาตรการหายใจน้อย กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง ภาวะหอบเหนื่อยง่าย ซึ่งพบในผู้ป่วยโรคปอดต่างๆ  ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องส่วนบนหรือทรวงอก ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจหรือหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่เลิกใช้เครื่องช่วยหายใจไม่ได้ อัมพาต เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือไม่รู้สึกตัว ทำให้ต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินหายใจได้ง่าย  ปอดแฟบ ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง และทำให้คุณภาพชีวิตลดลง
              ผศ. ดร. ชุลี   กล่าวว่า แต่ประสิทธิภาพของการรักษาทางกายภาพบำบัดยังเป็นปัญหา เนื่องจากนักกายภาพบำบัดมีน้อย ไม่สามารถให้การรักษาอย่างเพียงพอ เพราะการรักษาแต่ละครั้งต้องใช้เวลา 30 - 60 นาที    วันละหลายครั้ง ซึ่งอาจเป็นทุก 1-3 ชั่วโมง จึงต้องฝึกให้ผู้ป่วยรักษาตัวเอง ซึ่งจะทำได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากผู้ป่วยมีอุปกรณ์ใช้ในการฝึกด้วยตัวเองก็จะสามารถสร้างความสะดวกได้มากยิ่งขึ้น
             ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาวิจัย คิดค้นอุปกรณ์ฝึกหายใจอเนกประสงค์  BreatheMAX ซึ่งเป็นนวัตกรรมสำหรับการบำบัดระบบหายใจเพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น  โดยอุปกรณ์  BreatheMAX นี้เป็นเครื่องช่วยฝึกหายใจด้วยน้ำ ประกอบด้วย ขวดใส่น้ำ ที่มีท่อ 2 ท่อ ท่อหนึ่งเป็นท่อยาวจุ่มใต้น้ำ อีกท่อเป็นท่อสั้นอยู่เหนือน้ำ 
             อุปกรณ์นี้ใช้ประโยชน์ได้หลายประการ   คือ  ให้ความชื้นต่ออากาศที่หายใจเข้า และทำให้เกิดแรงสั่นในหลอดลม  จึงสามารถใช้ในการระบายเสมหะเพิ่มขึ้น  ให้สัญญาณป้อนกลับจากเสียงฟองอากาศแตก ซึ่งสามารถบอกลักษณะการหายใจ ได้จึงใช้ในการฝึกหายใจลึก และควบคุมลักษณะการหายใจตามต้องการ   ใช้แรงดันน้ำเป็นแรงต้านต่อการหายใจเข้าหรือออก จึงใช้ในการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ   และทำให้เกิดแรงดันบวกขณะหายใจออกในหลอดลม จึงช่วยเปิดหลอดลมและถุงลมมากขึ้น ซึ่งใช้ในการลดภาวะปอดแฟบ และเพิ่มการระบายอากาศในผู้ป่วยโรคปอดได้            
             ผศ. ดร. ชุลี  กล่าวต่อว่า  BreatheMAX   มีคุณสมบัติเด่นที่ไม่มีในอุปกรณ์ฝึกหายใจจากต่างประเทศ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละแบบล้วนทำงานได้เพียงอย่างเดียว แต่ BreatheMAX สามารถทำงานได้อเนกประสงค์ ในอุปกรณ์เดียว ที่สามารถช่วยในเรื่องระบบหายใจ ทั้งเพิ่มสมรรถภาพกล้ามเนื้อหายใจ เพิ่มความลึกของการหายใจและปริมาณระบายอากาศของปอด เพิ่มการละลายเสมหะ ลดการปิดของหลอดลมขณะหายใจออก ควบคุมแผนการหายใจ และสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
            “นอกจากนี้ BreatheMAX  ยังมีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ  โดย BreatheMAX จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ  650 บาท แต่อุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ  1,200 บาท จึงทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในการสั่งชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ได้เป็นจำนวนหลายล้านบาทต่อปี  และปัจจุบัน  BreatheMAX  สามารถนำไปใช้ได้จริงกับผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลขอนแก่น   และ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์  เป็นต้น มีจำหน่ายตามร้านขายยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และจดอนุสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว “   ผศ. ดร. ชุลี  กล่าว

หุ่นยนต์ตรวจมะเร็งตัวแรกในไทย

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เตรียมพร้อมรับมือมะเร็งปากมดลูก ชูเทคนิคใหม่ตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยหุ่นยนต์ เพิ่มความแม่นยำ


               นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้ทดลองใช้เครื่องตรวจมะเร็งชนิดใหม่ ตินเพร็พ อิมเมเจอร์ (ThinPrep Imager System) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองหาเซลล์ผิดปกติ และมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ด้วยระบบอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองเซลล์ผิดปกติได้พร้อมกัน 22 จุด เป็นเครื่องแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นำมาใช้งานจริงแล้วที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
 เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ที่มีความเกิดข้องกับมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถตรวจพร้อมกันได้ 250 ตัวอย่าง และมีความผิดพลาดน้อยมากเมื่อเทียบกับการตรวจแบบปกติ ทำให้ไม่ต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผล
              "การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเทคนิคตินเพร็บได้นำมาใช้ในประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยเทคนิคดังกล่าวมีความไวมากกว่าการตรวจด้วยเทคนิคแป็ปสเมียร์ในแบบเดิม และเป็นครั้งแรกที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้นำเครื่อง ตินเพร็พ อิมเมเจอร์ หรือระบบหุ่นยนต์ช่วยในการวิเคระห์ผลแทนมนุษย์เข้ามาใช้ สามารถตรวจทราบผลได้ภายใน 3-5 วัน"ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าว
 ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยเทคนิคใหม่ ไม่ต่างจากการตรวจคัดกรองมะเร็งในแบบเดิมหรือตินเพร็พ (ThinPrep) ที่ 500 บาท ต่อตัวอย่างซึ่งจำเป็นต้องใช้ชุดน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์ผล ขณะที่ตัวเครื่องมีราคาสูงถึง 20 ล้านบาท
             อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันอัตราผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะลดลงกว่าที่ผ่านมา แต่ นพ.ธีรวุฒิ กล่าวยอมรับว่า มะเร็งปากมดลูกยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของผู้ป่วยใหม่ รองจากมะเร็งเต้านม และมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 1 หมื่นคนต่อปี
            สำหรับวิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้คือการตรวจคัดกรอง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดโรค ทั้งนี้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น
           "การตรวจด้วยเทคนิคเซลล์วิทยาจะช่วยให้พบความผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็งได้ถึง 50% อีกทั้งการตรวจที่แม่นยำจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมาตรวจซ้ำเป็นประจำทุกปี หรือ 5 ปี ครั้ง สำหรับสตรีที่แต่งงานแล้ว และอายุ 30 ปีขึ้นไป" นพ.ธีรวุฒิ กล่าว
           ทั้งนี้ นอกจากเทคนิคการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเครื่องตินเพร็พ อิมเมเจอร์ แล้ว ในทางการแพทย์ยังได้พัฒนาเครื่องมือช่วยตรวจหามะเร็งปากมดลูกจากไวรัสเอสพีวี ซึ่งมีความจำเพาะต่อโรคมากกว่า โดยเทคโนโลยีใหม่สามารถตรวจหาได้ละเอียดถึงระดับเซลล์ในตำแหน่งที่ 16 และ 18 ของเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่ก่อมะเร็งได้สูงถึง 70% แต่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจอยู่ที่ สูงถึง 1,600 บาทต่อตัวอย่าง ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติจะนำตัวเครื่องที่พัฒนาให้ตรวจได้ในราคาถูกเข้ามาให้บริการแก่ผู้ป่วยในประเทศไทยต่อไป

ขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

สองมือน้อยคอยสรรค์สร้าง

      

วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อ









ขั้นตอนการผลิตสื่อฯ














ชุดการสอนประกอบด้วย 3 ศูนย์ ดังนี้

ชุดพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กกล่องที่ 1  ประกอบไปด้วย ลูกปัดหลากสี รูปทรงแตกต่างกัน จำนวน 3 รูปทรง (รูปหัวใจ รูปดาว รูปผีเสื้อ) รูปทรงละ 10 อัน กล่องพลาสติกใสขนาดเล็ก 3 กล่อง และกล่องพลาสติกขนาดใหญ่ 1 กล่อง ในการผลิตชุดการสอนกล่องที่ 1 เป็นการนำเอาลูกปัดหลากสี จำนวน 3 รูปทรง รูปทรงละ 10 อัน นำไปคละกันไว้ในกล่องพลาสติกขนาดใหญ่ ในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (นิ้วมือ) เป็นการฝึกใช้นิ้วมือในการบังคับการหยิบลูกปัดแต่ละรูปทรงลงในกล่องพลาสติกขนาดเล็กแต่ละกล่อง และเป็นการฝึกการแยกแยะลูกปัดที่มีรูปทรงแตกต่างกัน


ชุดพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กกล่องที่ 2  ประกอบไปด้วย แป้นเสียบกระดาษ 2 อัน ห่วงพลาสติกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จำนวนขนาดละ 12 ชิ้น กระดาษสี กรรไกร กาว กล่องพลาสติกใสขนาดใหญ่ ในการผลิตชุดการสอนกล่องที่ 2 เป็นการนำเอากระดาษมาพันกับเหล็กที่อยู่บนแป้นเสียบกระดาษทำเช่นเดียวกันทั้ง 2 อัน จากนั้นนำเอาห่วงพลาสติกทั้งสองขนาดมารวมกันในกล่องพลาสติกใส ในกล่องที่ 2 เป็นการฝึกพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (นิ้วมือ) ในการหยิบจับสิ่งของด้วยความแม่นยำ และเป็นการฝึกทักษะการแยกแยะวัตถุที่มีขนาดหรือรูปร่างแตกต่างกันลงในแป้นเสียบแต่ละอัน ในการทำแป้นเสียบสิ่งที่ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของอุปกรณ์ โดยเป็นการทำแป้นเสียบให้มีความโค้งมนเหมาะสำหรับการหยิบจับของเด็กมากที่สุด


ชุดพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กกล่องที่ 3  ประกอบไปด้วย เชือก 3 เส้น ลูกปัด 3 สี (สีเขียว สีเหลือง สีแดง) สีละ 12 ลูก กล่องพลาสติกใสขนาดใหญ่ ในการผลิตชุดการสอนกล่องที่ 3 เป็นการนำเอาลูกปัดทั้งสามสีมารวมกันในกล่องพลาสติกใสขนาดใหญ่ ในการฝึกพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (นิ้วมือ) เป็นการแยกแยะวัตถุที่มีสีต่างกัน
 

7 ก.พ. 2554

Multipoint


         Multipoint เป็น Technology ที่ทาง Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสามารถต่อเชื่อมกับ mouse ได้มากกว่า 1 ตัว จนถึง 250 ตัว สามารถทำได้โดยการใช้ Microsoft Office PowerPoint 2003/2007 และติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ Multipoint คือ MithyMice โปรแกรมนี้จะใช้สำหรับเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษาที่มีจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียนน้อย เช่น Computer 1 ตัว ต่อ นักเรียน 40 คน เมื่อนำ Multipoint เข้ามาใช้จึงทำให้ Computer 1 เครื่อง สามารถถูกใช้งานได้พร้อมกันจากนักเรียน 40 คน

         ณ ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีในการจัดการสอนของครูมีมากมาย เพื่อจะให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนของนักเรียน เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนา คิดค้น จากบริษัทเกี่ยวกับซอฟแวร์ หรือ นักคอมพิวเตอร์ผู้มากด้วยความสามารถหลาย ๆ คน
แต่ สิ่งหนึ่งในการที่จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มให้การเรียนของนักเรียนมีความน่าสนใจนั้นก็คือ โรงเรียนต้องมีความพร้อมทางเทคโนโลยีพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ มีเพียงพอสำหรับให้นักเรียนได้ศึกษา หากเราไม่นับโรงเรียนเด่น โรงเรียนดังระดับจังหวัด อำเภอ ที่มีนักเรียนเป็นพัน ๆ คน มีห้องปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์ จำนวนหลายห้องแล้ว ประเทศไทยยังมีโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงพอต่อนักเรียนอีกมากมาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก , โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งหากใช้โปรแกรม
Multipoint แล้ว จะสามารถพัฒนาการสอนของครูผู้สอน และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้พร้อม ๆ กัน จากคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่อง

หลักการใช้ Multipoint

-  ในห้องเรียน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง , มี mouse (เม้าส์) จำนวนเท่ากับนักเรียนในชั้นเรียน 1 ห้อง-  ครูเตรียมการสอนโดยใช้ Multipoint-  เมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมระหว่างเรียน หรือ การถามตอบ นักเรียนสามารถทำได้พร้อม ๆ กัน นักเรียนสนุก และมีความพร้อมในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้ทำกิจกรรมในระหว่างการเรียน ทำให้ไม่เบื่อการเรียน-  ลดปัญหาการขาดแคลนคอมพิวเตอร์ในการสอนได้

         
        
อุปกรณ์ที่จำเป็น

-  Usb Hub ชนิดมีอะเดปเตอร์ (ไฟเลี้ยง) เนื่องจากต้องต่อเม้าส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ ไปให้นักเรียนได้ใช้จำนวนหลายตัว ดังนั้น Usb Hub ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงเม้าส์ ควรจะต้องมีไฟเลี้ยงเพื่อไม่ให้ดึงไฟจากเครื่องพิวเตอร์ อาจทำให้เครื่องพิวเตอร์ทำงานหนักเพิ่มขึ้น อาจทำให้เม้าส์ไม่ทำงาน-  เครื่องคอมพิวเตอร์-  โปรเจคเตอร์ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ หากไม่มีหรือไม่ใช้ ก็ใช้ทีวีแทนได้เช่นกัน  

E-Learning

E-Learning คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง
          สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวางสามารถควบคุมลำดับชั้นของการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างระบบ การสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่และระบบการประเมินผลก็เป็นไปอย่าง ตรงไปตรงมาและเหนือสิ่งอื่นใด ระบบการเรียนรู้ E-learning ผู้เรียนจะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงจึงจะ ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจ และ เริ่มต้นพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ความสะดวกและรวดเร็ว ความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย
          สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT E-learning เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้าน การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการนำมัลติมีเดียมาเป็นสื่อการสอนของครู/อาจารย์ ให้ผู้เรียน เรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
          ในยุคปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Stand-alone หรือการเรียนผ่านเครือข่าย เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนค้นข้อมูลความรู้บนเครือข่ายซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อ การเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อผสม (Multimedia) ใช้การนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอม โดยใช้ Authoring tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับ ความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ

การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติกับ E-learning

          ชั้นเรียนปกติ
1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตำราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน
4. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่

          E-learning
1. ใช้ระบบวีดีโอออนดีมานด์เรียนผ่านทางเว็บ
2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย
3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจำนวน มาก
4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้

เวลาของการศึกษาออนไลน์
           การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญเติบโตไปทั่วทุกมุมโลก แนวโน้ม ของเทคโนโลยีดีขึ้น เร็วขึ้นและให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นทำให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังพัฒนามาสู่แอพพลิเคชั่น รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ

อนาคตของระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์
          สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับการศึกษาทางอิเล็ก ทรอนิกส์จะเติบโตและเป็นที่แพร่หลายก็คือ การที่ระบบเครือข่ายมีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอระบบ การเรียนการสอนที่น่าสนใจเช่น การใช้เสียงส่งสัญญาณวีดีโอตามความต้องการ ( Video on demand) และการประชุมผ่านสัญญาณวีดีโอ ในขณะเดียวกันก็ให้บริการที่เชื่อถือได้

ประเภทของe-learning แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
          1. Synchronous - ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง เช่นห้องเรียนที่มีอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่แล้วแต่นำไอทีเข้ามาเสริมการสอน
          2 . Asychronous- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเป็นการเรียนด้วยตนเองผู้เรียน เรียนจากที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไป ยังโฮมเพจเพื่อเรียน ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีห้องให้สนทนากับเพื่อร่วมชั้นมีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามผู้สอน แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
         
           ข้อดี ของ Synchronous คือ ได้บรรยากาศสด ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
          ข้อเสีย ของ Synchronous คือ กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดของคน กลุ่มใหญ่
          
           ข้อดี ของ Asynchronous คือ ผู้เรียน เรียนได้ตามใจชอบ จะเรียนจากที่ไหน เวลาใด ต้องการเรียน อะไรหรือให้ใครเรียนด้วยก็ได้
          ข้อเสีย ของ Asynchronus ไม่ได้บรรยากาศสด การถามด้วย chat หรือเว็บบอร์ดอาจไม่ได้รับการตอบ กลับ E – learning ในสถานศึกษา สามารถใช้ได้กับสถานศึกษา เริ่มจากที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษา รับการบ้าน ส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้า มาเรียนจากบ้านได้
          
ประโยชน์จาก E-learning
          1 ความรู้ไม่สูญหายไปกับคนเพราะสามารถเก็บไว้ได้
          2 ประหยัดเวลาเดินทางและค่าใช้จ่าย
          3 ผู้เรียนเลือกได้ว่าต้องการเรียนกับอาจารย์ท่านใดหรือหลายท่านก็ได้

6 ก.พ. 2554

WBI

ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า WBI คืออะไร
WBI ย่อมาจาก Web based instruction
WBI ไม่ใช่ CAI
WBI เป็นเครื่องมือสำหรับ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ E-Learning

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ E Education และเป็นส่วนย่อยของระบบใหญ่ E Commerceดังภาพ
แสดงระบบ E-Commerce => E education => E-Learning

WBI เป็น การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowladge Based On Line เป็นการจัดสภาวกาณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Lineโดยมีข้อกำหนด

อย่างไรจึงจะเรียกว่า WBI

การจะเป็น WBI จะต้องมีสิ่งต่อไปนี้อย่างสมบรูณ์ ได้แก่

  1. ความเป็นระบบ
  2. ความเป็นเงื่อนไข
  3. การสื่อสารหรือกิจกรรม
  4. Learning Root
ความเป็นระบบ System
System Learning

(แสดงรูประบบ) 
ความเป็นระบบสามารถแบ่งเป็น
Input ได้แก่
1. ผู้เรียน
2. ผู้สอน
3. วัตถุประสงค์การเรียน
4. สื่อการสอน
5. ฐานความรู้
6.
การสื่อสาร & กิจกรรม
7. การประเมินผล
8.  อื่นๆ ฯลฯ (แล้วแต่สถาบันจะกำหนดปัจจัยที่นอกเหนือจากนี้)
Process ได้แก่
การสร้างสถานการณ์หรือการจัดสภาวะการเรียนการสอน โดยใช้วัตถุดิบจาก Input อย่างมี กลยุทธ หรือ ตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน 
Output ได้แก่
ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ซึ่งได้จากการประเมินผล
ความเป็นเงื่อนไข
          อะไรคือ เงื่อนไข เงื่อนไขนับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ WBI อาทิกำหนดเงื่อนไขว่า เมื่อเสร็จสิ้นจากการเรียนแล้วจะต้องทำแบบประเมินการเรียน หากทำแบบประเมินผ่านตามคะแนนที่กำหนดไว้ ก็สามารถไปศึกษาบทเรียนอื่นๆหรือบทเรียนที่ยากขึ้นเป็นลำดับได้ แต่ถ้าไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็จะต้องเรียนซ้ำจนกว่าจะผ่าน
การสื่อสารหรือกิจกรรม
          อะไรคือ การสื่อสาร & กิจกรรม กิจกรรมจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการปฏิสัมพันธ์ หรือการสื่อสารขึ้นภายในสถานะการณ์การเรียน โดยไม่ต่างจากห้องเรียนปกติอาจเรียกว่า Virturl Classroom กิจกรรมจะเป็นตัวช่วยให้การเรียนเข้าสู่เป้าหมาย ได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้ Mail Chat Webboard Search ฯลฯ ติดต่ออาจารย์หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพื่อถามข้อสงสัย 
Learning Root
           Learning Root มิใช่ Learning Link กล่าวคือ Learning Root เป็นการกำหนดแหล่งความรู้ภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน โดยมีเงื่อนไข เช่น แหล่งความรู้ภายนอก ที่มีความยากเป็นลำดับ หรือ เกี่ยวข้องกับหัวข้อการเรียนเป็นลำดับ การกำหนด Leaning Root โดยใช้ เทคนิค Frame จะช่วยให้ผู้เรียนไม่เกิดภาวะหลงทาง

Multimedia (สื่อประสม)

          ในปัจจุบันนี้ บทบาทของไมโครคอมพิวเตอร์นับวันจะมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการดำเนินธุรกิจ การศึกษา หรืออื่น ๆ บริษัทผู้ผลิตจะมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาต่ำ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำให้การเติบโตของตลาดพีซีเป็นไปอย่างรวดเร็วนั้น ได้แก่ ความสามารถของเครื่องพีซีที่เพิ่มมากขึ้น การใช้เครื่องพีซีในปัจจุบันไม่จำกัดอยู่กับซอฟต์แวร์ที่ง่ายๆ อย่างเช่น เวิร์ดโปรเซสซึ่งอีกต่อไป มีซอฟต์แวร์ประยุกต์มากมายที่สนับสนุนการทำงานให้มีความนิยมใช้มากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของการทำงานของพีซีเอง เมื่อใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีความซับซ้อน ทำให้สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ความสามารถของไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้หลายระบบ ไม่ว่าจะใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องเดียวหรือติดตั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการใช้สื่อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันสามารถที่จะผสมผสานสื่อต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์สื่อประสมนับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สื่อประสม
สื่อประสมเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาควบคุมสื่อต่างๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกันในลักษณะของการผสมผสานอย่างเป็นระบบ เช่น อาจสร้างโปรแกรมให้มีการนำเสนองานที่เป็นข้อความ มีการเคลื่อนไหวจากวิดีโอประกอบ หรือมีเสียงบรรยายสลับกันไป

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อประสม

สื่อประสมไม่ใช่เทคโนโลยีเดี่ยวเพียงลำพัง แต่ระบบคอมพิวเตอร์สื่อประสมนั้น
เป็นการรวมเทคโนโลยีหลายอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการทำงานเทคโนโลยีเหล่านั้นได้แก่

1. เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล
2. เทคโนโลยีการย่อขนาดข้อมูล
3. เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์
4. เทคโนโลยีจอภาพ
5. เทคโนโลยีอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
6. เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย
7. เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
8. เทคโนโลยีการสื่อความหมาย ข้อมูลนำเสนอ และวิธีการ
ารพิจารณาเลือกซอฟต์แวร์เพื่อสร้างสรรค์งานด้านสื่อประสม ดังนี้
1. ความง่ายในการใช้งาน
2. ความสามารถในการนำเสนอ
3. ความสามารถในการติดต่อกับผู้ใช้
4. ความสามารถในการใช้ตัวแปรและฟังก์ชันในการคำนวณและประมวลผล
5. ความสามารถในการใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ
6. ความสามารถในการทำงานเอกสารประกอบโปรแกรม
7. ความสามารถในการส่งแอพพลิเคชั่นที่เสร็จแล้วให้ผู้
8. ความสามารถในการนำแอพพลิเคชั่นไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ

ตัวอย่างการสร้างสื่อ Multimedia


CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

CAI ย่อมาจาก computer-assisted instruction หรือ computer-aided instruction คำนี้เป็นศัพท์ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์ว่า “ซีเอไอ” หรือ “การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” ซึ่งมักอ้างอิงถึงซอฟแวร์ทางการศึกษาชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน CAI มีลักษณะเด่นสามประการคือ ประหยัด ได้ผล และฉลาด
มีคำหลายคำที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด (concept) ของ CAI เช่น Computer-Aided Instruction (CAI), Computer-Based Instruction (CBI), Computer-Aided Learning (CAL), Computer-Based Training (CBT), Computer-Based Education (CBE), Integrated Learning Systems (ILS) และคำอื่นๆ เช่น Intelligent Computer-Assisted Instruction (ICAI), Interactive Knowledge Retrieval systems (ITR) เป็นต้น

นักวิชาการชาวไทยหลายท่าน ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้แตกต่างกัน ดังนี้:
  • ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน: การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย
  • รศ.ยืน ภู่วรวรรณ: โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้นำเนื้อหาวิชาและลำดับวิธีการสอนมาบันทึกเก็บไว้ คอมพิวเตอร์จะช่วยนำบทเรียนที่เตรียมไว้อย่างเป็นระบบ มาเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละคน
  • รศ.ดร.ฉลอง ทับศรี: บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองเป็นหลัก
  • ผศ.ดร.สุกรี รอดโพธิ์ทอง: โปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายๆรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการรับรู้ของผู้เรียน
  • สารานุกรมศัพท์การศึกษาและจิตวิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.สุโขทัยธรรมาธิราช: การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการเรียนการสอนวิชาต่างๆ เช่น วิชาสังคม ศิลป วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ รวมทั้งวิชาคอมพิวเตอร์ โดยถือว่า คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในระบบการเรียนการสอนที่สามารถให้ผู้เรียนรู้ผลการตอบสนองได้รวดเร็วกว่าสื่อประเภทอื่น ยกเว้นสื่อบุคคล

ประเภทของบทเรียน



เราจะเข้าใจ CAI ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาถึงชนิดหรือประเภทต่างๆ ของมัน ซึ่งมีดังนี้:
  • ฝึกทบทวน (Drill and Practice) ถือว่าทักษะต่างๆที่ได้ถูกนำเสนอมา และการฝึกฝนปฏิบัติต่อไปให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ
  • สอนเนื้อหาใหม่ (Tutorial) กิจกรรมการสอนเนื้อหาใหม่นี้รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลและเพิ่มเติมเป็นงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการฝึกทบทวน (drill and practice) เกมส์ (games) และการจำลองสถานการณ์ (simulation)
  • แก้ปัญหา (Problem Solving) ซอฟแวร์การแก้ปัญหาสอนทักษะและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่อง
  • จำลองสถานการณ์ (Simulation) ซอฟแวร์จำลองสถานการณ์สามารถจัดเตรียมสภาพที่คล้ายคลึงกับความเป็นจริง ซึ่งการจำลองไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตจริง หรือไม่เสี่ยงอันตราย
  • เกมการศึกษา (Educational Game) ซอฟแวร์เกมส์สร้างการแข่งขันเพื่อให้ได้รับคะแนนสูงสุดและเอาชนะคู่แข่งหรือเอาชนะคอมพิวเตอร์ หรือทั้งสองอย่าง
  • ค้นพบ (Discovery) ซอฟแวร์การค้นพบจัดเตรียมฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เฉพาะเจาะจงไปยังแนวความคิดหนึ่งๆ หรือขอบเขตเนื้อหาหนึ่ง และท้าทายผู้เรียนให้วิเคราะห์ เปรียบเทียบ วินิจฉัย และหาค่า โดยยึดการสำรวจข้อมูลของเขาเป็นหลัก

ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา



เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา CAI แบ่งออกเป็นสี่กลุ่มคือ:
  1. ภาษาโปรแกรมระดับสูง (high-level languages) เช่น BASIC, Pascal, Logo และ C
  2. ภาษานิพนธ์บทเรียน (authoring languages) เช่น Coursewriter, Pilot และ Tutor
  3. ระบบนิพนธ์บทเรียน (authoring systems) เช่น PHOENIX, DECAL, Icon-Author, InfoWindow, LS1, SOCRATIC และ Authorware
  4. เครื่องช่วยนิพนธ์บทเรียน (authoring utilities) ซึ่งแบ่งออกได้อีกหลายชนิด เช่น lesson shell (ตัวอย่างโปรแกรม: Apple Shell Games), code generator (ตัวอย่างโปรแกรม: Screen Sculptor) และ library routines

สำหรับระบบนิพนธ์บทเรียนของคนไทยที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ โปรแกรมจุฬา C.A.I. ของ นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527

การตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือชนิดใด หรือการพิจารณาว่าเครื่องมือใดเหมาะกับคุณ ขอให้เริ่มคิดเสียก่อนว่า แท้ที่จริงแล้ว มีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องสร้างบทเรียนนั้น บางที บทเรียนที่คุณต้องการ อาจมีวางจำหน่ายอยู่แล้ว และหากว่าไม่มี ก็ขอให้คิดถึงการสร้างบทเรียนด้วยระบบนิพนธ์บทเรียน เนื่องจากใช้งานง่ายและช่วยประหยัดเวลาได้มากในการพัฒนาบทเรียน ทั้งนี้ ให้เข้าใจว่า บทเรียน CAI โดยทั่วไปที่ใช้สอนได้เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้น ต้องการเวลาในการพัฒนากว่า 200 ชั่วโมงทีเดียว

ตัวอย่าง CAI

3 ก.พ. 2554

เครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นสำหรับวิสาหกิจชุมชน

          

          น้ำมันงาดิบเป็นน้ำมันที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยควบคุมคลอเลสเตอรอลและป้องกันโรคได้หลายชนิด เนื่องจากมีสารอาหารที่สำคัญ คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น กรดโอเลอิก ที่มีความคงตัวและแตกตัวเป็นอนุมูลอิสระได้ยาก ทำให้น้ำมันงาอยู่ได้นานโดยไม่เหม็นหืน น้ำมันงาที่ได้จากการสกัดโดยวิธีเชิงกล เช่น การบีบอัดด้วยวิธีต่างๆ ที่อุณหภูมิขณะสกัดไม่สูงเกิน 60 องศาเซลเซียส จึงมีสารอาหารดังกล่าวครบถ้วนซึ่งสารดังกล่าวจะสลายไปหากสกัดน้ำมันงาด้วยวิธีทางเคมีหรือ ความร้อน

              รศ.ดร.มงคล กวางวโรภาส สังกัด ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ออกแบบและสร้างเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็น (รูปที่ 1) โดยใช้กำลังจากระบบไฮดรอลิก ต้นกำลังประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5 กิโลวัตต์ ขับปั๊มไฮโดรอลิกให้ส่งน้ำมันออกมาในอัตรา 3.7 ลิตรต่อนาที ด้วยความดันใช้งาน 150 บาร์ จำกัดความดันสูงสุดด้วยวาล์วผ่อนคลายความดัน น้ำมันจะถูกส่งผ่านวาล์วควบคุมทิศทางเข้าสู่กระบอกไฮดรอลิก

              ชุดอุปกรณ์ของการสกัดประกอบด้วยกระบอกโลหะเจาะรูขนาด 2 มิลลิเมตรโดยรอบ บรรจุงาได้สูงสุดครั้งละ 2.5 กิโลกรัม ด้าน ล่างมีถาดรองรับน้ำมัน ด้านบนมีชุดฝาอัดยึดติดส่วนบนของเสาหลักของเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นทำหน้าที่บีบอัดงาในกระบอกด้วยแรงดัน น้ำมันงาจะไหลออกจากรูรอบกระบอกลงสู่ถาดรองรับด้านล่าง ปริมาณน้ำมันงาที่ได้ คือ 800 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อชั่วโมง คิดเป็น 30-35 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ในการสกัดแต่ละครั้งจะเปิดสวิทช์ควบคุมให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานเป็นบางจังหวะ เพื่อรักษาความดันน้ำมันไฮดรอลิกในวงจรให้อยู่ระหว่าง 100-150 บาร์

              น้ำมันงาที่สกัดได้จากเครื่องสกัดน้ำมันงาแบบเย็นสำหรับวิสาหกิจชุมชนนี้ เป็นน้ำมันงาที่มีคุณภาพสูง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดไลโอเลอิก อยู่ครบถ้วน ไม่ถูกทำลายเหมือนน้ำมันงาที่สกัดด้วยวิธีทางความร้อนหรือด้วยวิธีการทางเคมี รวมทั้งไม่มีเศษชิ้นส่วนของเมล็ดงา ปะปนเหมือนการสกัดด้วยวิธีการใช้เกลียวอัด (screw press) น้ำมันงาที่สกัดได้จึงมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของลูกค้าและเหมาะกับการใช้งานทุกประเภท เครื่องสกัดดังกล่าวมีกลไกการทำงานที่ไม่ซับซ้อน
จึงเหมาะกับการใช้งานในวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อย