Me Myself

8 ก.พ. 2554

ผลงานช่วยกู้ภัย ชนะเลิศโครงงานคอมพ์ระดับประเทศ

เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS เป็นโครงงานชนะเลิศ IPST ROBOT CONTEST 2010 ไอเดียเยาวชนระดับมัธยม เพิ่มความฉับไวให้หน่วยกู้ภัย


          นายพลกฤษณ์  สุขเฉลิม หรือ เต้ย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ  ราชบุรี จังหวัดราชบุรี  เจ้าของผลงาน “ โครงงานเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS”   ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทประยุกต์ใช้งาน จาก โครงการ IPST ROBOT CONTEST 2010    ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (สสวท.)  เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี  2554
 พลกฤษณ์ศึกษาเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารอยู่แล้ว จึงพัฒนาโครงงานนี้ขึ้นจากความสนใจที่มีอยู่เดิม  ประกอบกับเหตุการณ์ หรือ อุบัติเหตุต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น เครื่องบินตกที่จังหวัดน่าน พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ไม่สามารถหาผู้ประสบภัยเจอ  กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าช่วยเหลือ
          ด้วยเหตุผลดังกล่าว พลกฤษณ์จึงได้พัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือและกู้ภัย โดยอุปกรณ์จะส่งสัญญานขอความช่วงเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยในทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งพิกัดที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยได้อย่างมาก  ซึ่งโครงงานนี้มีอาจารย์กำธร  ใช้พระคุณ เป็นคุณครูที่ปรึกษา
          พลกฤษณ์ได้นำเอาเทคโนโลยีการระบุพิกัดด้วยดาวเทียม หรือ GPS มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ  และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมาช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว  โดย การใช้การระบุพิกัดผ่านดาวเทียม และนำเอาพิกัดดังกล่าวส่งไปกับคลื่นวิทยุผ่านทางดาวเทียมไปยังสถานีฐาน    หากเกิดเหตุขึ้น อุปกรณ์สามารถส่งสัญญานขอความช่วยเหลือไปพร้อมกับพิกัด GPS ไปยังสถานีฐานที่เป็นหน่วยกู้ภัย ให้รับทราบถึงเหตุดังกล่าว และตำแหน่งที่ต้องเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
          ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญานขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัด GPS ได้พัฒนาอุปกรณ์ใน 4 ส่วน   ใหญ่ ๆ คือ GPS  Module  Modem  ระบบควบคุมการส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ และเครื่องส่งวิทยุ อุปกรณ์แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
           ทั้งนี้ ได้มีการทดสอบการใช้งาน โดยจำลองการค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร  พบว่า สามารถที่จะทราบเหตุที่เกิดขึ้นโดยทันที และสามารถที่จะเข้าช่วยเหลือได้ในเวลาไม่นานนักหลังจากได้รับสัญญานขอความช่วยเหลือดังกล่าว เนื่องจากทราบพิกัดของผู้ขอความช่วยเหลืออย่างละเอียด
          อีกทั้ง จากการทดสอบอุปกรณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการส่งสัญญาน  พบว่า  สามารถส่งสัญญานได้ในระยะสูงสุดถึง 2,000 กิโลเมตรห่างจากสถานีฐาน โดยใช้ดาวเทียม HOPE-1 คือ สามารถรับพิกัดจากประเทสไทย (จังหวัดราชบุรี) จากหมู่เกาะตอนล่างของประเทศญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง
          พลกฤษณ์เริ่มหัดเขียนโปรแกรมตั้งแต่ ม.ต้น หาความรู้จาก อาจารย์ จากความรู้ต่างๆที่มีอยู่ ผมคิดว่าความรู้มีอยู่ทุกที่อยู่แล้ว จากนั้นก็หาประสบการณ์จากการแข่งขันด้านคอมพิวเตอร์มาเรื่อยๆ  “ ผมว่าคอมพิวเตอร์เป็นอะไรที่น่าสนใจ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิตได้ ”
         พลกฤษณ์ยังบอกอีกว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อย่างเขา สนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เด็กบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่ถูก เอาเวลาส่วนใหญ่ไปใช้กับการเล่นเกม แต่ขณะเดียวกันเด็กหลายคนก็พัฒนาได้จากการเล่นเกมเช่นกัน ดังนั้น เขาเห็นว่าจะต้องมาปรับนิสัย ปรับพฤติกรรมเด็กให้ได้ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ในทางสร้างสรรค์มากขึ้น
          จากความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้  พลกฤษณ์ได้โควตาเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ในปีการศึกษาหน้านี้  และ เขายังตั้งความหวังไว้ว่าอยากเป็นอาจารย์ด้านวิศวกรรมต่อไปในอนาคต 

มข.ผลิตอุปกรณ์ฝึกหายใจอเนกประสงค์

BreatheMAX อุปกรณ์ฝึกหายใจอเนกประสงค์ นวัตกรรมใหม่สำหรับการบำบัดระบบหายใจที่ให้แรงต้านแบบเรียบง่ายสำหรับผู้ป่วยได้ใช้เอง


              นักวิจัย มข.ผลิต BreatheMAX อุปกรณ์ฝึกหายใจอเนกประสงค์ นวัตกรรมใหม่สำหรับการบำบัดระบบหายใจที่ให้แรงต้านแบบเรียบง่ายสำหรับผู้ป่วยได้ใช้เอง  ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยเสริมการรักษาทางกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยทุกวัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ  บำบัดปัญหาระบบหายใจและสามารถลดความดันโลหิตสูง โดยราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศ
              ผศ. ดร. ชุลี  โจนส์  อาจารย์ประจำสายวิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  ปัจจุบันงานกายภาพบำบัดเฉพาะทางด้านระบบหายใจเป็นงานด้านการบำบัดรักษาความบกพร่อง และเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด เช่น การระบายอากาศ  การแลกเปลี่ยนก๊าซ ในผู้ป่วยตั้งแต่ระยะวิกฤติ จนถึง ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยวิธีการทางกายภาพที่ใช้หลักการหรือกลไกการทำงานตามธรรมชาติของปอดมาบำบัดสาเหตุของความบกพร่องนั้นๆ
              แต่ปัญหาที่พบในผู้ป่วยระบบหายใจส่วนใหญ่จะมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลมทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจ ปอดแฟบ ปริมาตรการหายใจน้อย กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง ภาวะหอบเหนื่อยง่าย ซึ่งพบในผู้ป่วยโรคปอดต่างๆ  ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องส่วนบนหรือทรวงอก ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจหรือหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่เลิกใช้เครื่องช่วยหายใจไม่ได้ อัมพาต เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือไม่รู้สึกตัว ทำให้ต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินหายใจได้ง่าย  ปอดแฟบ ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง และทำให้คุณภาพชีวิตลดลง
              ผศ. ดร. ชุลี   กล่าวว่า แต่ประสิทธิภาพของการรักษาทางกายภาพบำบัดยังเป็นปัญหา เนื่องจากนักกายภาพบำบัดมีน้อย ไม่สามารถให้การรักษาอย่างเพียงพอ เพราะการรักษาแต่ละครั้งต้องใช้เวลา 30 - 60 นาที    วันละหลายครั้ง ซึ่งอาจเป็นทุก 1-3 ชั่วโมง จึงต้องฝึกให้ผู้ป่วยรักษาตัวเอง ซึ่งจะทำได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากผู้ป่วยมีอุปกรณ์ใช้ในการฝึกด้วยตัวเองก็จะสามารถสร้างความสะดวกได้มากยิ่งขึ้น
             ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาวิจัย คิดค้นอุปกรณ์ฝึกหายใจอเนกประสงค์  BreatheMAX ซึ่งเป็นนวัตกรรมสำหรับการบำบัดระบบหายใจเพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น  โดยอุปกรณ์  BreatheMAX นี้เป็นเครื่องช่วยฝึกหายใจด้วยน้ำ ประกอบด้วย ขวดใส่น้ำ ที่มีท่อ 2 ท่อ ท่อหนึ่งเป็นท่อยาวจุ่มใต้น้ำ อีกท่อเป็นท่อสั้นอยู่เหนือน้ำ 
             อุปกรณ์นี้ใช้ประโยชน์ได้หลายประการ   คือ  ให้ความชื้นต่ออากาศที่หายใจเข้า และทำให้เกิดแรงสั่นในหลอดลม  จึงสามารถใช้ในการระบายเสมหะเพิ่มขึ้น  ให้สัญญาณป้อนกลับจากเสียงฟองอากาศแตก ซึ่งสามารถบอกลักษณะการหายใจ ได้จึงใช้ในการฝึกหายใจลึก และควบคุมลักษณะการหายใจตามต้องการ   ใช้แรงดันน้ำเป็นแรงต้านต่อการหายใจเข้าหรือออก จึงใช้ในการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ   และทำให้เกิดแรงดันบวกขณะหายใจออกในหลอดลม จึงช่วยเปิดหลอดลมและถุงลมมากขึ้น ซึ่งใช้ในการลดภาวะปอดแฟบ และเพิ่มการระบายอากาศในผู้ป่วยโรคปอดได้            
             ผศ. ดร. ชุลี  กล่าวต่อว่า  BreatheMAX   มีคุณสมบัติเด่นที่ไม่มีในอุปกรณ์ฝึกหายใจจากต่างประเทศ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละแบบล้วนทำงานได้เพียงอย่างเดียว แต่ BreatheMAX สามารถทำงานได้อเนกประสงค์ ในอุปกรณ์เดียว ที่สามารถช่วยในเรื่องระบบหายใจ ทั้งเพิ่มสมรรถภาพกล้ามเนื้อหายใจ เพิ่มความลึกของการหายใจและปริมาณระบายอากาศของปอด เพิ่มการละลายเสมหะ ลดการปิดของหลอดลมขณะหายใจออก ควบคุมแผนการหายใจ และสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
            “นอกจากนี้ BreatheMAX  ยังมีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ  โดย BreatheMAX จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ  650 บาท แต่อุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ  1,200 บาท จึงทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในการสั่งชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ได้เป็นจำนวนหลายล้านบาทต่อปี  และปัจจุบัน  BreatheMAX  สามารถนำไปใช้ได้จริงกับผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลขอนแก่น   และ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์  เป็นต้น มีจำหน่ายตามร้านขายยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และจดอนุสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว “   ผศ. ดร. ชุลี  กล่าว

หุ่นยนต์ตรวจมะเร็งตัวแรกในไทย

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เตรียมพร้อมรับมือมะเร็งปากมดลูก ชูเทคนิคใหม่ตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยหุ่นยนต์ เพิ่มความแม่นยำ


               นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้ทดลองใช้เครื่องตรวจมะเร็งชนิดใหม่ ตินเพร็พ อิมเมเจอร์ (ThinPrep Imager System) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองหาเซลล์ผิดปกติ และมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ด้วยระบบอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองเซลล์ผิดปกติได้พร้อมกัน 22 จุด เป็นเครื่องแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นำมาใช้งานจริงแล้วที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
 เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ที่มีความเกิดข้องกับมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถตรวจพร้อมกันได้ 250 ตัวอย่าง และมีความผิดพลาดน้อยมากเมื่อเทียบกับการตรวจแบบปกติ ทำให้ไม่ต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผล
              "การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเทคนิคตินเพร็บได้นำมาใช้ในประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยเทคนิคดังกล่าวมีความไวมากกว่าการตรวจด้วยเทคนิคแป็ปสเมียร์ในแบบเดิม และเป็นครั้งแรกที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้นำเครื่อง ตินเพร็พ อิมเมเจอร์ หรือระบบหุ่นยนต์ช่วยในการวิเคระห์ผลแทนมนุษย์เข้ามาใช้ สามารถตรวจทราบผลได้ภายใน 3-5 วัน"ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าว
 ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยเทคนิคใหม่ ไม่ต่างจากการตรวจคัดกรองมะเร็งในแบบเดิมหรือตินเพร็พ (ThinPrep) ที่ 500 บาท ต่อตัวอย่างซึ่งจำเป็นต้องใช้ชุดน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์ผล ขณะที่ตัวเครื่องมีราคาสูงถึง 20 ล้านบาท
             อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันอัตราผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะลดลงกว่าที่ผ่านมา แต่ นพ.ธีรวุฒิ กล่าวยอมรับว่า มะเร็งปากมดลูกยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของผู้ป่วยใหม่ รองจากมะเร็งเต้านม และมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 1 หมื่นคนต่อปี
            สำหรับวิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้คือการตรวจคัดกรอง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดโรค ทั้งนี้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น
           "การตรวจด้วยเทคนิคเซลล์วิทยาจะช่วยให้พบความผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็งได้ถึง 50% อีกทั้งการตรวจที่แม่นยำจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมาตรวจซ้ำเป็นประจำทุกปี หรือ 5 ปี ครั้ง สำหรับสตรีที่แต่งงานแล้ว และอายุ 30 ปีขึ้นไป" นพ.ธีรวุฒิ กล่าว
           ทั้งนี้ นอกจากเทคนิคการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเครื่องตินเพร็พ อิมเมเจอร์ แล้ว ในทางการแพทย์ยังได้พัฒนาเครื่องมือช่วยตรวจหามะเร็งปากมดลูกจากไวรัสเอสพีวี ซึ่งมีความจำเพาะต่อโรคมากกว่า โดยเทคโนโลยีใหม่สามารถตรวจหาได้ละเอียดถึงระดับเซลล์ในตำแหน่งที่ 16 และ 18 ของเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่ก่อมะเร็งได้สูงถึง 70% แต่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจอยู่ที่ สูงถึง 1,600 บาทต่อตัวอย่าง ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติจะนำตัวเครื่องที่พัฒนาให้ตรวจได้ในราคาถูกเข้ามาให้บริการแก่ผู้ป่วยในประเทศไทยต่อไป

ขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

สองมือน้อยคอยสรรค์สร้าง

      

วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อ









ขั้นตอนการผลิตสื่อฯ














ชุดการสอนประกอบด้วย 3 ศูนย์ ดังนี้

ชุดพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กกล่องที่ 1  ประกอบไปด้วย ลูกปัดหลากสี รูปทรงแตกต่างกัน จำนวน 3 รูปทรง (รูปหัวใจ รูปดาว รูปผีเสื้อ) รูปทรงละ 10 อัน กล่องพลาสติกใสขนาดเล็ก 3 กล่อง และกล่องพลาสติกขนาดใหญ่ 1 กล่อง ในการผลิตชุดการสอนกล่องที่ 1 เป็นการนำเอาลูกปัดหลากสี จำนวน 3 รูปทรง รูปทรงละ 10 อัน นำไปคละกันไว้ในกล่องพลาสติกขนาดใหญ่ ในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (นิ้วมือ) เป็นการฝึกใช้นิ้วมือในการบังคับการหยิบลูกปัดแต่ละรูปทรงลงในกล่องพลาสติกขนาดเล็กแต่ละกล่อง และเป็นการฝึกการแยกแยะลูกปัดที่มีรูปทรงแตกต่างกัน


ชุดพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กกล่องที่ 2  ประกอบไปด้วย แป้นเสียบกระดาษ 2 อัน ห่วงพลาสติกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จำนวนขนาดละ 12 ชิ้น กระดาษสี กรรไกร กาว กล่องพลาสติกใสขนาดใหญ่ ในการผลิตชุดการสอนกล่องที่ 2 เป็นการนำเอากระดาษมาพันกับเหล็กที่อยู่บนแป้นเสียบกระดาษทำเช่นเดียวกันทั้ง 2 อัน จากนั้นนำเอาห่วงพลาสติกทั้งสองขนาดมารวมกันในกล่องพลาสติกใส ในกล่องที่ 2 เป็นการฝึกพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (นิ้วมือ) ในการหยิบจับสิ่งของด้วยความแม่นยำ และเป็นการฝึกทักษะการแยกแยะวัตถุที่มีขนาดหรือรูปร่างแตกต่างกันลงในแป้นเสียบแต่ละอัน ในการทำแป้นเสียบสิ่งที่ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของอุปกรณ์ โดยเป็นการทำแป้นเสียบให้มีความโค้งมนเหมาะสำหรับการหยิบจับของเด็กมากที่สุด


ชุดพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กกล่องที่ 3  ประกอบไปด้วย เชือก 3 เส้น ลูกปัด 3 สี (สีเขียว สีเหลือง สีแดง) สีละ 12 ลูก กล่องพลาสติกใสขนาดใหญ่ ในการผลิตชุดการสอนกล่องที่ 3 เป็นการนำเอาลูกปัดทั้งสามสีมารวมกันในกล่องพลาสติกใสขนาดใหญ่ ในการฝึกพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (นิ้วมือ) เป็นการแยกแยะวัตถุที่มีสีต่างกัน
 

7 ก.พ. 2554

Multipoint


         Multipoint เป็น Technology ที่ทาง Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสามารถต่อเชื่อมกับ mouse ได้มากกว่า 1 ตัว จนถึง 250 ตัว สามารถทำได้โดยการใช้ Microsoft Office PowerPoint 2003/2007 และติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ Multipoint คือ MithyMice โปรแกรมนี้จะใช้สำหรับเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษาที่มีจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียนน้อย เช่น Computer 1 ตัว ต่อ นักเรียน 40 คน เมื่อนำ Multipoint เข้ามาใช้จึงทำให้ Computer 1 เครื่อง สามารถถูกใช้งานได้พร้อมกันจากนักเรียน 40 คน

         ณ ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีในการจัดการสอนของครูมีมากมาย เพื่อจะให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนของนักเรียน เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนา คิดค้น จากบริษัทเกี่ยวกับซอฟแวร์ หรือ นักคอมพิวเตอร์ผู้มากด้วยความสามารถหลาย ๆ คน
แต่ สิ่งหนึ่งในการที่จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มให้การเรียนของนักเรียนมีความน่าสนใจนั้นก็คือ โรงเรียนต้องมีความพร้อมทางเทคโนโลยีพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ มีเพียงพอสำหรับให้นักเรียนได้ศึกษา หากเราไม่นับโรงเรียนเด่น โรงเรียนดังระดับจังหวัด อำเภอ ที่มีนักเรียนเป็นพัน ๆ คน มีห้องปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์ จำนวนหลายห้องแล้ว ประเทศไทยยังมีโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงพอต่อนักเรียนอีกมากมาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก , โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งหากใช้โปรแกรม
Multipoint แล้ว จะสามารถพัฒนาการสอนของครูผู้สอน และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้พร้อม ๆ กัน จากคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่อง

หลักการใช้ Multipoint

-  ในห้องเรียน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง , มี mouse (เม้าส์) จำนวนเท่ากับนักเรียนในชั้นเรียน 1 ห้อง-  ครูเตรียมการสอนโดยใช้ Multipoint-  เมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมระหว่างเรียน หรือ การถามตอบ นักเรียนสามารถทำได้พร้อม ๆ กัน นักเรียนสนุก และมีความพร้อมในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้ทำกิจกรรมในระหว่างการเรียน ทำให้ไม่เบื่อการเรียน-  ลดปัญหาการขาดแคลนคอมพิวเตอร์ในการสอนได้

         
        
อุปกรณ์ที่จำเป็น

-  Usb Hub ชนิดมีอะเดปเตอร์ (ไฟเลี้ยง) เนื่องจากต้องต่อเม้าส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ ไปให้นักเรียนได้ใช้จำนวนหลายตัว ดังนั้น Usb Hub ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงเม้าส์ ควรจะต้องมีไฟเลี้ยงเพื่อไม่ให้ดึงไฟจากเครื่องพิวเตอร์ อาจทำให้เครื่องพิวเตอร์ทำงานหนักเพิ่มขึ้น อาจทำให้เม้าส์ไม่ทำงาน-  เครื่องคอมพิวเตอร์-  โปรเจคเตอร์ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ หากไม่มีหรือไม่ใช้ ก็ใช้ทีวีแทนได้เช่นกัน  

E-Learning

E-Learning คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง
          สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวางสามารถควบคุมลำดับชั้นของการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างระบบ การสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่และระบบการประเมินผลก็เป็นไปอย่าง ตรงไปตรงมาและเหนือสิ่งอื่นใด ระบบการเรียนรู้ E-learning ผู้เรียนจะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงจึงจะ ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจ และ เริ่มต้นพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ความสะดวกและรวดเร็ว ความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย
          สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT E-learning เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้าน การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการนำมัลติมีเดียมาเป็นสื่อการสอนของครู/อาจารย์ ให้ผู้เรียน เรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
          ในยุคปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Stand-alone หรือการเรียนผ่านเครือข่าย เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนค้นข้อมูลความรู้บนเครือข่ายซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อ การเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อผสม (Multimedia) ใช้การนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอม โดยใช้ Authoring tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับ ความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ

การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติกับ E-learning

          ชั้นเรียนปกติ
1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตำราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน
4. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่

          E-learning
1. ใช้ระบบวีดีโอออนดีมานด์เรียนผ่านทางเว็บ
2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย
3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจำนวน มาก
4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้

เวลาของการศึกษาออนไลน์
           การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญเติบโตไปทั่วทุกมุมโลก แนวโน้ม ของเทคโนโลยีดีขึ้น เร็วขึ้นและให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นทำให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังพัฒนามาสู่แอพพลิเคชั่น รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ

อนาคตของระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์
          สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับการศึกษาทางอิเล็ก ทรอนิกส์จะเติบโตและเป็นที่แพร่หลายก็คือ การที่ระบบเครือข่ายมีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอระบบ การเรียนการสอนที่น่าสนใจเช่น การใช้เสียงส่งสัญญาณวีดีโอตามความต้องการ ( Video on demand) และการประชุมผ่านสัญญาณวีดีโอ ในขณะเดียวกันก็ให้บริการที่เชื่อถือได้

ประเภทของe-learning แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
          1. Synchronous - ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง เช่นห้องเรียนที่มีอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่แล้วแต่นำไอทีเข้ามาเสริมการสอน
          2 . Asychronous- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเป็นการเรียนด้วยตนเองผู้เรียน เรียนจากที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไป ยังโฮมเพจเพื่อเรียน ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีห้องให้สนทนากับเพื่อร่วมชั้นมีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามผู้สอน แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
         
           ข้อดี ของ Synchronous คือ ได้บรรยากาศสด ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
          ข้อเสีย ของ Synchronous คือ กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดของคน กลุ่มใหญ่
          
           ข้อดี ของ Asynchronous คือ ผู้เรียน เรียนได้ตามใจชอบ จะเรียนจากที่ไหน เวลาใด ต้องการเรียน อะไรหรือให้ใครเรียนด้วยก็ได้
          ข้อเสีย ของ Asynchronus ไม่ได้บรรยากาศสด การถามด้วย chat หรือเว็บบอร์ดอาจไม่ได้รับการตอบ กลับ E – learning ในสถานศึกษา สามารถใช้ได้กับสถานศึกษา เริ่มจากที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษา รับการบ้าน ส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้า มาเรียนจากบ้านได้
          
ประโยชน์จาก E-learning
          1 ความรู้ไม่สูญหายไปกับคนเพราะสามารถเก็บไว้ได้
          2 ประหยัดเวลาเดินทางและค่าใช้จ่าย
          3 ผู้เรียนเลือกได้ว่าต้องการเรียนกับอาจารย์ท่านใดหรือหลายท่านก็ได้